หลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยว (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยว

ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะและสมรรถนะทางวิชาชีพในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บูรณาการกับการทำงาน มีจิตบริการ และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตบริการ และความรับผิดชอบต่อสังคมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
  2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพในศาสตร์ทางการท่องเที่ยว มีความสามารถในการปฏิบัติงาน การให้บริการ เรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม และบริหารจัดการเทียบเท่ากับมาตรฐานสมรรถนะทางวิชาชีพระดับสากล
  3. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการวิเคราะห์สถานการณ์โดยประยุกต์ใช้ความรู้ เหตุผลและวิจารณญาณอย่างเหมาะสมเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ
  4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการทำงานและมีบุคลิกภาพที่เหมาะสมต่องานบริการสามารถพัฒนาตนเอง ทั้งด้านความรู้ ทักษะวิชาชีพ และคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง
  5. เพื่อให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 1 ภาษา รวมทั้งสามารถสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม

โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยว

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต ประกอบด้วย

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

    วิชาบังคับเรียน ให้เรียน3หน่วยกิต
    วิชาเลือกเรียน ไม่น้อยกว่า27หน่วยกิต

  2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 94 หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า24 หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาเฉพาะด้านบังคับ ไม่น้อยกว่า33หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาเฉพาะด้านเลือก ไม่น้อยกว่า30หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ให้เรียน7 หน่วยกิต

  3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อย 6 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าและผ่านการคัดเลือกตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ หรือ
  2. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ โรคทางจิตอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  3. มีความประพฤติดี ไม่เคยถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด อันเนื่องจากประพฤติผิดวินัยนักศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ธุรกิจนำเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว พนักงานปฏิบัติการ
  2. หน่วยงานวางแผนและส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่วางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยว
  3. ครู นักวิชาการ นักวิจัย
  4. ธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจการบิน ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจไมซ์