หลักสูตรสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการธนาคาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการธนาคาร

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการธนาคาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คุณธรรม มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ด้านการเงินการธนาคารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมถึงการนำไปประกอบอาชีพทางด้านการเงินการธนาคาร เพื่อประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติโดยรวม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. มีความเข้าใจปัญหาพื้นฐานและกลไกการทำงานของระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการเงินการธนาคาร
  2. สามารถใช้เหตุผลและเครื่องมือทางเศรษฐกิจในการวิเคราะห์อย่างมีคุณภาพและประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ด้านการเงินการธนาคารได้อย่างเหมาะสม สามารถนำไปประกอบอาชีพ ด้านการเงินการธนาคาร เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม
  3. มีจิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการธนาคาร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต ประกอบด้วย

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาภาษา ไม่น้อยกว่า9 หน่วยกิต
    กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ไม่น้อยกว่า6 หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ไม่น้อยกว่า9 หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า6 หน่วยกิต

  2. หมวดวิชาเฉพาะ 100 หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาเฉพาะด้านบังคับ ให้เรียน84 หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาเฉพาะด้านเลือก ไม่น้อยกว่า9 หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ให้เรียน7 หน่วยกิต

  3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
หมายเหตุ
         1. นักศึกษาต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษอย่างน้อย 12 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองสำหรับผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรอนุปริญญา (3 ปี) ปริญญาตรี (4 ปี) หรือปริญญาตรี (5 ปี)
  2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญา (3 ปี) หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่ตรงกับสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
  3. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ โรคจากจิตอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  4. มีความประพฤติดี ไม่เคยถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด เนื่องจากประพฤติผิดวินัยนักศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. เศรษฐกร
  2. นักวิชาการส่งเสริมการลงทุน
  3. ผู้แนะนำการลงทุน
  4. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ
  5. เจ้าหน้าที่ด้านการเงิน
  6. นักวิเคราะห์หลักทรัพย์
  7. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
  8. ผู้ประกอบการ
  9. พนักงานธนาคาร