
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นหน่วยราชการจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ที่มีการพัฒนาจากคณะวิชาวิทยาการจัดการ วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2527 โดยจัดสอนกลุ่มวิชาด้านบริหารธุรกิจและการจัดการให้กับคณะต่างๆ ที่เลือกเรียนวิชาพื้นฐานหลักๆ ที่สำคัญ เช่น วิชาเศรษฐศาสตร์ วิชาการสหกรณ์ วิชาการตลาด วิชาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ปีต่อมาเริ่มเปิดสอนหลักสูตรในคณะวิชาวิทยาการจัดการของตนเองในระดับอนุปริญญา เช่น วิชาเอกการจัดการทั่วไป วิชาเอก บริหารธุรกิจ และเริ่มรับอาจารย์เพิ่มขึ้นตามจำนวนนักศึกษาที่มากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งรับโอนอาจารย์ในวุฒิที่ตรงกับสาขาวิชาที่เปิดสอน ในปี พ.ศ.2538 วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538 คณะวิชาวิทยาการจัดการเปิดสอนหลากหลายสาขามากขึ้น ทั้งระดับปริญญาตรี และอนุปริญญา ต่อมาปี พ.ศ.2547 สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และคณะวิชาวิทยาการจัดการ ปรับเป็นคณะวิทยาการจัดการ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ปัจจุบันคณะวิทยาการจัดการ มีการจัดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญตามศาสตร์ มีห้องปฏิบัติการที่มีอุปกรณ์ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการ สอนเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตทุกหลักสูตร และมีสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
ทำเนียบผู้บริหาร
1. อาจารย์พิสูจน์ | สมบูรณ์ | รักษาการหัวหน้าคณะวิชา |
2. ผศ.ดวงจิตต์ | กลำพากร | หัวหน้าคณะวิชา |
3. ผศ.ประกายศรี | ศรีรุ่งเรือง | หัวหน้าคณะวิชา |
4. อาจารย์สมพร | จิรามริทธิ์ | หัวหน้าคณะวิชา |
5. ผศ.ประทุม | จันพินิจ | หัวหน้าคณะวิชา |
6. รศ.วันทนีย์ | แสนภักดี | หัวหน้าคณะวิชา |
7. ผศ.ดร.ไพโรจน์ | อุลิต | หัวหน้าคณะวิชา |
8. อาจารย์สุชิน | หงส์วิจิตร | คณบดี |
9. ผศ.ธิดา | พาหอม | คณบดี |
10. รศ.อภินันท์ | จันตะนี | คณบดี |
11. ดร.ศานติ | เล็กมณี | คณบดี |
12. รศ.ลำยอง | ปลั่งกลาง | คณบดี |
13. ดร.ศานติ | เล็กมณี | คณบดี |
14. รศ.ดร.อัจฉรา | หล่อตระกูล | คณบดี |
15. อาจารย์ประพันธ์ | แสงทองดี | คณบดี |
16. ดร.สมเกียรติ | แดงเจริญ | คณบดี |
วิชาการเด่น เน้นคุณธรรม นำการบริหาร สู่การพัฒนาท้องถิ่น
เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลิตนักบริหารมืออาชีพ สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อพัฒนาสังคมและท้องถิ่น
1. ผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญ มีคุณธรรม เพื่อเป็นนักบริหารมืออาชีพสู่สังคมและท้องถิ่น 2. พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม 3. พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ธุรกิจจำลองและเศรษฐกิจพอเพียงให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ โดยการปฏิบัติจริงและเรียนรู้กับหน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่ดำเนินงานตรงกับหลักสูตรในคณะและหน่วยงาน ภายนอก เพื่อ พัฒนาชุมชนและท้องถิ่น สร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อพัฒนาสังคมและท้องถิ่น 4. บูรณาการการจัดการเรียนการสอน พัฒนางานวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมตอบสนองความต้องการของสังคมและท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้นวัตกรรมทางธุรกิจ เพื่อสังคมและท้องถิ่น
หล่อหลอมการพัฒนากำลังคนด้วยภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า สืบสาน รักษาศิลปวัฒนธรรมแห่งเมืองมรดกโลก