หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการ

ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทักษะ และคุณธรรมด้านการจัดการ นำท้องถิ่น ก้าวทันเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในระบบเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะ ด้านการบริหารจัดการและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานในภาคธุรกิจ หน่วยงานราชการ และดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพการบริหารจัดการ
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม ก้าวทันเทคโนโลยีและนวัตกรรมยุคดิจิทัล
  5. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ

โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการ

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 124 หน่วยกิต ประกอบด้วย

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

    วิชาบังคับเรียน ให้เรียน3หน่วยกิต
    วิชาเลือกเรียน ไม่น้อยกว่า27หน่วยกิต

  2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 88 หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาแกน ให้เรียน30หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาเฉพาะด้านบังคับ ให้เรียน36 หน่วยกิต
    - กลุ่มวิชาเฉพาะด้านเลือก ไม่น้อยกว่า15หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ให้เรียน7หน่วยกิต

  3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญา ในสาขาตรงหรือเทียบเท่าทางบริหารธุรกิจ โดยผ่านการสอบคัดเลือกตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และเป็นไปตามระเบียบสภามหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการโอนผลการเรียน การยกเว้นผลการเรียนรายวิชาและการจ่ายค่าธรรมเนียม พ.ศ. 2522 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2557 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2558
  3. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ โรตทางจิตอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  4. มีความประพฤติดี ไม่เคยถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใดอันเนื่องจากประพฤติผิดวินัยนักศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. งานสายธุรกิจ เช่น เจ้าของธุรกิจ นักลงทุน ผู้บริหารองค์กร พนักงานขององค์กรเอกชน
  2. เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
  3. ประกอบกิจการส่วนตัว เช่น เจ้าของกิจการค้าส่ง กิจการค้าปลีก กิจการขนส่ง กิจการผลิต กิจการอุตสาหกรรม กิจการบริการ เป็นต้น