หลักสูตรสาขาวิชาการตลาด (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาการตลาด

วิชาเอก

- แขนงวิชาดิจิทัลมาร์เกตติง (Digital Marketing)

- แขนงวิชาอิเวนต์มาร์เกตติง (Event Marketing)

ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรู้ทางด้านดิจิทัลมาร์เกตติงและงานอิเวนต์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรอบรู้และมีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ด้านดิจิทัลมาร์เกตติง และอิเวนต์มาร์เกตติงที่ทันสมัย สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีภาวะผู้นำ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และใช้ทักษะทางการตลาดและในการบริหารธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะทางด้านภาษาและการสื่อสาร รวมทั้งสามารถใช้เทคโนโลยีได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะด้านการวิจัย และสามารถค้นคว้าองค์ความรู้ด้านดิจิทัลมาร์เกตติง และอิเวนท์มาร์เกตติง ได้ด้วยตนเอง
  5. เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ทางการตลาดและบริหารธุรกิจ ให้มีความรับผิดชอบ เสียสละต่อสังคมและประเทศชาต

โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาการตลาด

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต ประกอบด้วย

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

    วิชาบังคับเรียน ให้เรียน3หน่วยกิต
    วิชาเลือกเรียน ไม่น้อยกว่า27หน่วยกิต

  2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 91 หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาเฉพาะด้านบังคับ ให้เรียน78หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาเฉพาะด้านเลือก ไม่น้อยกว่า6หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาฝึกปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ให้เรียน7หน่วยกิต

  3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และผ่านการคัดเลือกตามระเบียบของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หรือ
  2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)หรืออนุปริญญา หรือปริญญาตรีสาขาอื่น โดยผ่านการคัดเลือกตามระเบียบของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและเป็นไปตามระเบียบสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ว่าด้วยการโอนผลการเรียน การยกเว้นรายวิชาเรียนและการจ่ายค่าธรรมเนียมการยกเว้นรายวิชาเรียน พ.ศ.2552 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 (ภาคผนวก จ.)
  3. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ โรคทางจิตอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  4. มีความประพฤติดี ไม่เคยถูกไล่ออกจากสถานบันการศึกษาใดอันเนื่องจากประพฤติผิดวินัยนักศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. องค์กรธุรกิจ ซึ่งสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ ของฝ่ายการตลาด ฝ่ายการขาย ฝ่ายการให้บริการลูกค้า ฝ่ายการประชาสัมพันธ์ ฝ่ายการโฆษณาและส่งเสริมการขาย ฝ่ายการสื่อสารตราสินค้าและองค์กร ฝ่ายดิจิทัลมาร์เกตติงฝ่ายการสื่อสารการตลาด ฝ่ายการจัดอิเวนต์ฝ่ายวิจัยตลาด
  2. องค์กรภาครัฐ ซึ่งสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ ของฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร เป็นต้น
  3. สถาบันการศึกษา ซึ่งสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่ง ครูหรืออาจารย์ผู้สอนในด้านบริหารธุรกิจและการตลาด ที่เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทั้งที่เป็นสถาบันการศึกษาของภาครัฐและภาคเอกชน
  4. เจ้าของธุรกิจ ห้างร้าน ตัวแทน ซึ่งสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการตลาดแบบออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ