หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

รายละเอียดหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตให้มีศักยภาพด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มีทักษะความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบอาชีพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ และมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทักษะด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และสามารถประยุกต์ความรู้เพื่อประกอบอาชีพด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะทางปัญญา การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและสร้างสรรค์ งานวิจัยทางด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
  4. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข ภาษา การสื่อสาร ก้าวทันเทคโนโลยีและนวัตกรรม ยุคดิจิทัล

โครงสร้างหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต ประกอบด้วย

  1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

    วิชาบังคับเรียน ให้เรียน3หน่วยกิต
    วิชาเลือกเรียน ไม่น้อยกว่า27หน่วยกิต

  2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 97 หน่วยกิต

    กลุ่มวิชาแกน ให้เรียน30หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาเฉพาะด้านบังคับ ให้เรียน48หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาเฉพาะด้านเลือก ไม่น้อยกว่า12หน่วยกิต
    กลุ่มวิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ไม่น้อยกว่า7หน่วยกิต

  3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และผ่านการคัดเลือกตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
  2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาในสาขาตรงหรือเทียบเท่าทางบริหารธุรกิจ โดยผ่านการคัดเลือกตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และเป็นไปตามระเบียบสภามหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการโอนผลการเรียน การยกเว้นผลการเรียนรายวิชาและการจ่ายค่าธรรมเนียม พ.ศ. 2552 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2557 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2558
  3. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ โรคทางจิตอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  4. มีความประพฤติดี ไม่เคยถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด อันเนื่องจากประพฤติผิดวินัยนักศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  1. ระดับปฏิบัติการ คือ ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายการขนส่ง
  2. ระดับบริหาร คือ นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน นักวางแผนวัตถุดิบ การผลิตกระจายสินค้า นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
  3. ประกอบธุรกิจส่วนตัว คือ นักธุรกิจนำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางโลจิสติกส์ ตัวแทน การขนส่งทางบก ทางเรือ ทางอากาศ และธุรกิจนำเข้าและการส่งออก
  4. รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรมเจ้าท่า กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน